บทความด้าน Network

          ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วว่าด้วยการเก็บ Log ผ่าน Flash Drive นั้น เราสามารถเก็บหมายเลข IP Address ของเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีการติดต่อไป ซึ่งอาจจะไม่สะดวกสำหรับการตรวจว่าเครือข่ายของเราติดต่อไปยังเว็บไซต์ใดบ้าง ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการเก็บLog เป็นURLของเว็บไซต์ปลายทางที่เครือข่ายของเราติดต่อออกไป เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลและตรวจสอบระบบเครือข่ายภายในนั้นเอง โดยมีวิธีการดังนี้
  1. เข้า MikroTik ผ่านโปรแกรม Winbox
  2. คลิกคำสั่ง IP แล้วคลิกเลือก Web Proxy จะปรากฏหน้าต่าง Web Proxy Settings ให้คลิกเลือก Enabled และที่ช่อง Port ตั้งเป็น 8080 จากนั้นคลิกปุ่ม OK
คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ez-admin.com/33-interesting-articles/89-keep-a-log-mikrotik-with-web-proxy.html



โดยปกติแล้วหากเราใช้งาน Hotspot โดยใช้ User จาก MikroTik จะสามารถกำหนด Share User ใน User Profiles ได้เลย แต่หากเข้าใช้งานผ่าน User Manager ถึงแม้ว่าเราจะกำหนดการ Share User ใน Profile ไว้แล้วก็ตาม แต่ก็จะยังไม่สามารถกำหนดให้หนึ่ง User เข้าใช้งานหลายเครื่องพร้อมกันได้ เพราะเราจำเป็นจะต้องทำการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมใน Hotspot ของเครื่อง MikroTik เสียก่อน โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. เข้าไปที่ MikroTik ไปที่คำสั่ง IP > Hotspot คลิกที่แท็บ User Profiles คลิกที่ปุ่ม + เพื่อสร้าง Profile ที่ต้องการจะกำหนดค่าการใช้งาน ที่ช่อง Name ตั้งชื่อตามที่ต้องการ (ตัวอย่างนี้จะตั้งชื่อเป็น Share Userman 2 ) ที่ช่อง Shared Users ให้เรากำหนดจำนวนที่ต้องการจะ Share User ว่าให้ใช้งานได้พร้อมกันกี่เครื่อง (ตัวอย่างนี้เป็น Share User : 2) จากนั้นคลิกปุ่ม OK (ส่วนของช่องอื่นๆ เราจะกำหนดการใช้งานผ่าน User Manager)

การเก็บ Log ของ MikroTik Router สามารถเก็บได้ด้วยความจำภายในตัวของ MikroTik แต่ไม่สามารถเก็บได้ครบตามจำนวนวัน ที่ทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กำหนดไว้ เนื่องจากพื้นที่ในหน่วยความจำมีให้ค่อนข้างน้อย ดังนั้นการที่เราจะเก็บให้ครบตามวันที่ทางพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กำหนดไว้ จึงจำเป็นจะต้องจัดเก็บไปไว้ยังอุปกรณ์อื่น ซึ่งสามารถเก็บได้หลายช่องทาง วันนี้จะมาแนะนำวิธีการเก็บ Log ผ่าน Flash Drive โดยวิธีการมี ดังนี้
1. คอนฟิก MikroTik ด้วยโปรแกรม Winbox เมื่อเข้าโปรแกรมมาแล้วให้ทำการเชื่อมต่อ Flash Drive เข้ากับตัวเครื่อง MikroTik (รุ่นที่นำมาเป็นตัวอย่างคือ RB751U-2HnD เพราะรุ่นนี้จะมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อ USB มาให้ในตัว) จากนั้นไปที่คำสั่ง System > Disks จะปรากฏหน้าต่าง Disk List ขึ้นมา โดยจะมีข้อมูลของ Flash Drive ที่เราได้เชื่อมต่ออยู่ขึ้นมา ให้ทำการคลิกเพื่อเลือก จากนั้นคลิกคำสั่ง Eject Drive แล้วคลิกคำสั่ง Format Drive จะปรากฏหน้าต่าง Format Drive ขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม Start แล้วรอจนกว่าจะทำการ Format เสร็จเรียบร้อย เพียงเท่านี้ Flash Drive ก็จะพร้อมใช้งานแล้ว
คลิกอ่านบทความ การเก็บ LOG ผ่าน Flash Drivh

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เปิดรับสมัครผู้เข้าอบรมด้านระบบเครือข่ายปี 2562