หลักสูตรอบรม

1) หลักสูตรอบรม Network Administrator 

       รายละเอียดหลักสูตร
  1. รู้จักหน้าที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  2. พื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  3. รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในระบบเครือข่าย
  4. รู้จัก Protocal และการทำงานของ TCP/IP
  5. การติดตั้งเครือข่าย LAN แบบมีสายและไร้สาย
  6. การควบคุมเครื่อง (Remote Desktop) ระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  7. การสมัครชื่อ DDNS เพื่อติดต่อเครือข่ายระยะไกลด้วยชื่อเครื่องแทนหมายเลข IP
  8. การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาที่อยู่ห่างไกลด้วย VPN
  9. จัดแบ่งเครือข่าย LAN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยด้วย VLAN
  10. การทำ Routing เชื่อมต่อและค้นหาเส้นทางระหว่างเครือข่าย

2) หลักสูตรอบรม Profession Networking Workshop Level 1

         รายละเอียดหลักสูตร 

บทที่ 1 การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดด้วย กล้อง IP CAMERA
  • รู้จักกล้อง IP Camera
  • คุณสมบัติของกล้อง IP Camera
  • ข้อดี-ข้อเสียของกล้อง IP Camera
  • การนำกล้อง IP Camera ไปประยุกต์ใช้งาน
  • การเลือกซื้อกล้อง IP Camera
  • เลือกซื้อกล้องแบบ CCD หรือ CMOS
  • สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนติดตั้งกล้อง IP Camera
  • ขั้นตอนการติดตั้งกล้อง IP Camera ยี่ห้อ D-Link DCS-920
  • การทำ Port Forward ให้กับกล้อง IP Camera
  • ดูภาพจากกล้อง IP Camera ผ่านเครือข่าย LAN
  • ดูภาพจากกล้อง IP Camera ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ IP
  • ดูภาพจากกล้อง IP Camera ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ชื่อ DDNS
  • บันทึกภาพจากกล้อง IP ด้วยโปรแกรม D-ViewCam
  • ขั้นตอนการติดตั้งกล้อง IP Camera ยี่ห้อ Linksys  wvc54gca
คลิกอ่านหลักสูตรเพิ่มเติม https://www.ez-admin.com/index.php/course-training-by-ez-admin/10-course-network-admin/7-network-profession-level-2
ระยะเวลาอบรม 3 วัน ราคา 4,900 บาท (ราคาก่อน VAT)

3) หลักสูตรอบรม MikroTik Level 1 

     หลักสูตรอบรม MikroTik Level 1 สำหรับติดตั้งระบบ WiFi Hotspot, Load Balance, Firewall และ QoS ตัวเดียวเอาอยู่

     ** รับผู้เข้าอบรมรอบละ 8 ท่านเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้จับอุปกรณ์จริง และคอนฟิกค่าต่างๆ ให้กับอุปกรณ์ด้วยตัวเอง สอนเพื่อนำไปใช้งานได้จริงทันที

หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้ทำความรู้จัก Router อัจฉริยะที่ชื่อ MikroTik Routerboard โดยเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงและมีความสามารถที่หลากหลาย รองรับการติดตั้งระบบต่างๆ ได้ด้วยอุปกรณ์เพียงตัวเดียว แต่มีราคาไม่แพง ซึ่งผู้เรียนจะได้คอนฟิกระบบเหล่านี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง เช่น…การติดตั้งระบบเครือข่ายปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ระบบควบคุมการใช้งานเครือข่ายไร้สาย (WiFi Hotspot), ระบบ Load Balance เพื่อแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ต, ระบบเชื่อมโยงเครือข่าย, ระบบควบคุมเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ต, การบล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรือโปรแกรม BitTorrent ซึ่งการติดตั้งระบบเหล่านี้อาจจำเป็นต้องใช้เครื่อง Server หรืออุปกรณ์ที่มีราคาแพงหลายตัว ทำให้อาจไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีงบจำกัด
คลิกอ่านหลักสูตร MikroTik Router การทำระบบ WiFi Hotspot เพิ่มเติม

4) หลักสูตรอบรม MikroTik Level 2 

          หลักสูตรอบรม MikroTik Level 2 การติดตั้ง Multi LAN, Multi Hotspot, VLAN, VPN และ Routing ด้วย MikroTik Router เป็นการติดตั้งและพัฒนาระบบเครือข่ายด้วย Router อัจฉริยะ Mikrotik ที่มีราคาประหยัด มีเสถียรภาพสูง แต่สามารถทำงานต่างๆ ได้เทียบเท่ากับ Firewall, L3 Switch และ Router ราคาแพง เช่น การทำ VPN และ Routing เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายหรือสาขาที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกัน, การจัดการระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้าง VLAN, การทำระบบ Internet Hotspot ให้มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการแยกเครือข่าย WiFi ออกจากเครือข่ายภายใน และการแยกโปรแกรมต่างๆ หรือแต่ละเครือข่ายให้วิ่งออกเส้นอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ รวมถึงกำหนดกฏข้อบังคับการใช้งานที่มีความแตกต่างกันเป็นต้น

5) หลักสูตรอบรม CentOS Linux Server Over all Basic (LNC-L1)

      เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับผู้สนใจที่จะเริ่มต้นศึกษาการใช้งาน Linux Server เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงโครงสร้างและการทำงานของ Linux ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจาก Windows Server อยู่พอสมควร ดังนั้นเนื้อหาของหลักสูตรนี้จึงเน้นการปูพื้นฐานเบื้องต้น รวมถึงการใช้คำสั่งต่างๆ ที่จำเป็น และหลักการคอนฟิกค่า Linux Server ที่สำคัญ โดยคำนึงถึงความเข้าใจของผู้เรียนและการนำไปต่อยอดในเนื้อหาระดับสูงต่อไป โดยมีหัวข้อการเรียนดังนี้

รายละเอียดหลักสูตร CentOS Linux Server Over all Basic

บทที่ 1 รู้จักและติดตั้ง CentOS Linux Server
รู้จัก CentOS
การติดตั้ง CentOS (ช่วงแรก)
รู้จัก RAID (Redundant Array of Independent Disks)
รู้จักพาร์ทิชัน (Partition) และ Logical Volume Manager (LVM)
รู้จักพาร์ทิชันสำคัญบน CentOS
รู้จักระบบไฟล์ (File Systems) ของ CentOS
การติดตั้ง CentOS (ช่วงสอง) สร้าง Raid และ LVM
คลิกอ่านหลักสูตรอบรม CentOS Linux Server เพิ่มเติม

6) CentOS Linux Server  Level 2 : System Administrator 

เป็นหลักสูตรที่ต่อเนื่องจาก CentOS Linux Server Level 1 โดยจะเน้นให้ผู้เรียนได้คอนฟิก Services ต่างๆ ที่สำคัญสำหรับการทำงานของเครื่อง Server และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น DNS Server, Web Server, FTP Server, Database Server, Mail Server และ Centralized Log Server
     หลังจากผ่านหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เรียนจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดตั้ง Server เพื่อให้บริการ Services ต่างๆ ที่ในหลายๆ องค์กรมีความจำเป็นต้องใช้งานได้ รวมถึงสามารถนำแนวทางที่ได้ศึกษาไปประยุกต์ใช้กับการจัดตั้ง Linux Server อื่่นๆ ได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดหลักสูตรอบรม
  1. การกำหนดค่าเริ่มต้น
     บทนี้ให้ผู้เรียนได้เตรียมสภาพแวดล้อมของเครื่องและโปรแกรมที่จะคอนฟิกให้ทำหน้าที่เป็น Server ต่างๆ และเป็นการทบทวนความรู้พื้นฐานจาก Level 1 ด้วย
  1. ติดตั้งและจัดการ DNS Server
        DNS Server ถือเป็นหัวใจหลักของระบบ Server เพราะทุกๆ Services จะต้องเชื่อมโยงกับการให้บริการของ DNS ในบทแรกนี้ ผู้เรียนจึงต้องกำหนดค่าการทำงานของ DNS Server ขึ้นมาให้ได้ เพื่อให้ Service ของ DNS ในการแปลงชื่อเครื่องเป็นหมายเลข IP ของเครื่อง Server อื่นๆ นั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น รู้จักการทำงานของ DNS, การสร้างโซน, การสร้างเรคคอร์ดสำคัญ และการสร้าง DNS Server เครื่องที่ 2 เพื่อให้รับการโอนถ่ายข้อมูลโซนทั้งหมดจาก DNS Server เครื่องหลัก
  1. ติดตั้งและจัดการ Web Server
        Web Server เป็น Server ที่ให้บริการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ ใน Linux จะนิยมใช้โปรแกรม Apache สำหรับการทำหน้าที่เป็น Web Server ผู้เรียนจะได้ศึกษาถึงขั้นตอนการจัดตั้ง Web Server ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับผู้ให้บริการ Web Hosting ทั้งการสร้างเว็บไซต์หลัก, การสร้างเว็บไซต์แบบ Virtual Host แบบ IP Base หรือ Name Base เพื่อให้ Server หนึ่งเครื่องสามารถรองรับได้หลายเว็บไซต์, การกำหนดสิทธิ์การเข้าชมเว็บไซต์ หรือ การให้สิทธิ์ผู้ใช้แต่ละคนในการจัดการเว็บไซต์ เป็นต้น
  1. ติดตั้งและจัดการ FTP Server
        FTP Server เป็น Service ที่ให้บริการคู่กับ Web Server เพื่อใช้ในการดาวน์โหลดและอัปโหลดไฟล์ขึ้นไปฝากไว้บนเครื่อง Server ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WAN) และเครือข่ายภายใน (LAN) ในบทนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การจัดตั้ง FTP Server ให้สามารถบริการได้ 2 รูปแบบ คือ แบบ Anonymous ที่ให้ใครก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ แต่จะถูกจำกัดสิทธิ์ให้มีความเข้มงวดสูงสุด และแบบ Authentication เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงสามารถเข้ามาใช้งานได้ โดยผ่านการตรวจสอบจากการ Log in
  1. ติดตั้งและจัดการ Database Server
        Database Server เป็นอีก Service หนึ่งที่มีความสำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพราะจะมีการทำงานที่เชื่อมโยงกับอีกหลายๆ Services ที่ต้องการมีการจัดเก็บข้อมูลมากๆ ไว้ในระบบ เช่น Web Server, Mail Server หรือ Log Server ในบทนี้ ผู้เรียนจะได้ทำการจัดตั้งและบริหารจัดการ Database Server เพื่อให้บริการร่วมกับ Web Server และโปรแกรมสร้างเว็บไซต์แบบ CMS (Content Management System) ก็คือ Joomla และโปรแกรมช่วยจัดการ Database ก็คือ PhpMyAdmin
  1. ติดตั้งและจัดการ Mail Server
        Mail Server คือ Service ที่ให้บริการรับส่งอีเมล หากใช้ Mail Server ของ Microsoft เราอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเป็นการจัดตั้ง Mail Server บน Linux ก็แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ดังนั้นในบทนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การสร้างและจัดการระบบ Mail Server ให้สามารถรับและส่งอีเมลได้ การเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง DNS และ Mail รวมถึงการป้องกันอีเมลที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ จากภายนอก เพื่อให้ Mail Server ของเราปลอดภัยจากการก่อกวนและการโจมตีต่างๆ ด้วย
  1. ติดตั้งและจัดการ Centralized Log Server
Centralized Log Server เป็น Service ที่จะทำหน้าที่จัดเก็บ Log ที่ส่งมาจากเครื่อง Server และอุปกรณ์ต่างๆ รวมไว้ในเครื่องเดียว ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและการจัดการ ในบทนี้ ผู้เรียนจะได้รู้จักการคอนฟิกโปรแกรม RSyslog เพื่อให้ทำหน้าที่เป็น Centralized Log Server โดยทดสอบการจัดเก็บ Log ที่มาจากเครื่อง Server ต่างๆ จากบทที่ผ่านมา เช่น เก็บ Log จาก Web Server, FTP Server, Mail Server หรือ Database Server เป็นต้น รวมถึงสามารถกำหนดค่าการจัดเก็บ Log ให้ถูกต้องตามกฏหมายและสามารถนำ Log ไปตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายๆ ด้วยโปรแกรม LogAnalyzer ได้

7) หลักสูตรอบรม Network Firewall and Security Engineer Level 1

     หลักสูตร Network Firewall and Security Engineer เป็นหลักสูตรที่นำมาใช้ในการจัดการระบบ Firewall เพื่อสร้าง ระบบป้องกันความปลอดภัย ให้กับระบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะสามารถเข้าใจระบบ OSI Model ทั้ง 7 เลเยอร์, กำหนดค่าการทำงานเบื้องต้นของ Firewall ด้วยคำสั่งต่างๆ และหน้ากราฟิกได้, กำหนดค่าการ Routing ด้วย Firewall ได้, กำหนดค่า Policy ของ Firewall, กำหนดค่าการทำงานของ Firewall แบบครบวงจร (UTM Firewall) เช่น การป้องกันไวรัส การกรองเนื้อหาเว็บไซต์ การควบคุมและป้องกันการโจมตีจากโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, สามารถกำหนดค่าการทำ IPSec VPN แบบ Site to Site, สามารถกำหนดค่า Virtual IP ด้วย Firewall, สามารถตรวจสอบและออกรายงานบันทึกข้อมูลการทำงานของ Firewall ด้วย Syslog รวมทั้งสามารถสำรอง และการเรียกคืนข้อมูลกลับได้ เป็นต้น

8) หลักสูตรอบรม Network Firewall and Security Engineer Level 2

รายละเอียดหลักสูตร
  1. เรื่องของ TCP/IP และรูปแบบการโจมตีของ Hacker
  2. การกำหนดค่าพื้นฐานของ FortiGate สำหรับการทำ LAB
  3. ตรวจสอบการถูกสแกนพอร์ตและใช้ Firewall ป้องกัน
  4. ตรวจสอบการโจมตีแบบ DoS และการใช้ Firewall ป้องกัน
  5. ตรวจสอบการโจมตีแบบ Exploitation เพื่อวาง Backdoor และการใช้ Firewall ป้องกัน
  6. สร้างระบบ LDAP Authentication เพื่อ Log in ด้วย User Account จาก Windows Server (AD)
  7. สร้างระบบ Authentication Single Sign ON (SSO) ร่วม Windows Server (AD)
  8. การเชื่อมต่อ IPSec VPN แบบ Remote Access VPN
  9. การทำระบบ High Availability (HA) เพื่อให้ Firewall ทำงานทดแทนกันได้

9) หลักสูตร HKW-L1: Ethical Hacking Workshop

(ความปลอดภัยและการเจาะช่องโหว่ของระบบเครือข่ายด้วย Kali Linux & Metasploit)

          หลักสูตรเบื้องต้นสำหรับการปูพื้นฐานทางด้าน Network Security ที่เหมาะสำหรับ Admin ที่ต้องการก้าวไปอีกขั้นสู่การเรียนรู้ในเรื่องของ Security ที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของ Hacker ที่เข้ามาเจาะระบบเครือข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร เช่น การสอดแนบรวบรวมข้อมูล การปิดบังอำพราง การหลีกเลี่ยงโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือไฟร์วอลล์ การสร้างช่องทางลับ และการโจมตีด้วยช่องโหว่ต่างๆ เพื่อให้รู้ทันและหาวิธีป้องกันความปลอดภัยให้กับระบบที่ดูแลอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          โดยหลักสูตรนี้จะเน้นการทำ LAB เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดสอบการเจาะระบบและรูปแบบการโจมตีต่างๆ รวมวิธีการป้องกันด้วยตัวเอง รวมถึงการทดสอบเจาะช่องโหว่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย WAN IP (IP จริง) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและมองเห็นภาพการโจมตีของ Hacker ทั้งผ่านทางเครือข่ายแลน (ภายใน) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ภายนอก)


10) หลักสูตร HKW-L2 : Web Hacking & ARP Spoofing

(ความปลอดภัยและช่องโหว่ของเว็บไซต์)

          หลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันช่องโหว่บนเว็บไซต์ ป้องกันความปลอดภัยจากการถูกดักจับข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหามีดังนี้

รายละเอียดหลักสูตร
กำหนดค่าการทำงานโปรแกรม Kali Linux เบื้องต้น
การกำหนดค่า IP Configuration การสตาร์ท Services ที่สำคัญของ Metasploit
การทำ Persistence Backdoor เพื่อเจาะช่องโหว่เครื่องเป้าหมายโดยอัตโนมัติ
การใช้คำสั่ง Persistence เพื่อเจาะช่องโหว่เครื่องเป้าหมายอัตโนมัติ และการ Exploit ได้ทันทีที่ต้องการ
การโจมตีแบบ Social Engineering ด้วย Credential Harvester Attack : Site Cloner
การโจมตีแบบ Social Engineering ด้วย Credential Harvester Attack: Web Templates
การโจมตีแบบ Social Engineering ด้วย Credential
การทำ Harvester Attack : Custom Import
คลิกอ่านหลักสูตรอบรม Web Hacking (Hacking -02) เพิ่มเติม

11) หลักสูตร Windows Server 2016 & 2012R2 Overall Basic Level 1

          เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทำงานกับ Windows Server, ผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ย่นระบบจาก Workgroup มาเป็นระบบ Domain ที่มีความปลอดภัยและบริหารจัดการได้ง่ายกว่า Windows Server 2012 R2 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการควบคุมและจัดการเครื่อง Client ในระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง หลักสูตรนี้จะเน้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพื้นฐานการทำงานของ Windows Server 2012 R2 และระบบ Active Directory เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนี้จะครอบคลุมพื้นฐานการทำงานที่สำคัญทั้งหมด ทำให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ
รายละเอียดหลักสูตร
  1. Windows Server 2016 และความสามารถใหม่
  2. การติดตั้ง Windows Server แบบ Clean Install และ Upgrade
  3. การสร้าง RAID 1 และ 5 บน Windows Server\
  4. การติดตั้ง Active Directory และโปรโมตเป็นเครื่อง Domain Controller
  5. การติดตั้ง DHCP Server เพื่อแจก IP อัตโนมัติให้เครื่อง Client และการทำ DHCP แบบ Load Balance & Failover
  6. สร้างและจัดการ User, Group และ OU (Organizational Unit)
  7. การจัดการและกำหนดสิทธิการใช้งานไฟล์ข้อมูลบนเครือข่าย (Share & Permission)
  8. การใช้ File Server Resource Manager กำหนดพื้นที่ใช้งานและบล็อคไฟล์ต้องห้าม
  9. กำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการทำงานของผู้ใช้ด้วย Group Policy
  10. กำหนดนโยบายการสร้างและจัดการรหัสผ่านให้กับผู้ใช้บน Domain
  11. การทำ Folder Redirection เพื่อย้าย Profiles ของผู้ใช้ทั้งหมดบน Domain ไปเก็บไว้ที่เครื่อง Server
  12. การกู้ Objects ต่างๆ ที่อยู่ใน AD กลับคืนมาด้วยคุณสมบัติ Active Directory Recycle Bin
  13. การสร้างเครื่อง DC สำรองหรือ Addition Domain (Backup Server)
  14. การย้าย (Transfer) และการยึด (Seize) หน้าที่สำคัญ (FSMO) จากเครื่อง PDC ไปยังเครื่อง DC ตัวสำรอง
  15. Backup และ Restore ข้อมูลสำคัญบนเครื่อง Domain Controller

12) หลักสูตร Windows Server 2016 & 2012R2 Level 2

         หลักสูตรการนำ Windows Server มาให้บริการ Serviceห ที่สำคัญต่างๆของระบบเครือข่าย ทั้ง Services พื้นฐานต่างๆ ที่ควรต้องมีในระบบ Domain เช่น DNS Server, Web Server, FTP Server, Mail Server หรือการติดตั้ง Services ที่ใช้งานในระบบ Cloud เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูล
แบบหลายๆ สาขา ป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายหรือสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมและข้อมูลสำคัญได้จากทุกที่ เช่น Remote Application Server, 
Distribute Fil System และ Load Balancing ของเครื่อง Server เพื่อรองรับการทำงานหนักๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดหลักสูตร
  1. การติดตั้งและจัดการ DNS Server เพื่อให้บริการแปลงชื่อเครื่องต่างๆ ใน Domain
  2. การติดตั้งและจัดการ Web Server เพื่อให้บริการเว็บไซต์ต่างๆ ในองค์กร
  3. การติดตั้งและจัดการ FTP Server เพื่อให้บริการอัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ไปเก็บไว้บนเครื่อง Server
  4. การติดตั้งและจัดการ Mail Server เพื่อให้บริการรับส่งอีเมลในองค์กร
  5. การติดตั้งและจัดการ Remote Application Server เพื่อให้เรียกใช้โปรแกรมต่างๆ บนเครื่อง Server ทั้งผ่านทาง Web Apps และ Win Apps
  6. การติดตั้งและจัดการ Distribute File System เพื่อทาระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลแบบกระจายไปยังเครื่อง Server หลายๆ เครื่อง
  7. การติดตั้งและจัดการ Load Balancing ของเครื่อง Server เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางานและป้องกันไม่ให้ Services สาคัญล่ม

13) หลักสูตรอบรม VMware Level 1

รายละเอียดการอบรม
1. รู้จัก VMware ESX
  • ข้อดีของระบบ Virtualization
  • ประเภทของโปรแกรม Virtual Machine
2. การติดตั้งและกำหนดค่าเริ่มต้น
  • ขั้นตอนการติดตั้ง Vmware ESX
  • การกำหนดค่าการทำงานเริ่มต้น
  • คอนฟิก ESX ผ่าน VMware vSphere Web Client
3. การสร้าง Virtual Machine และติดตั้ง Guest OS
  • การอัปโหลดไฟล์ Image ของ Guest OS ไปเก็บไว้ใน Datastore
  • การสร้างเครื่อง VM
  • ติดตั้ง VMware Tools เพิ่มความสามารถให้กับ VM
  • การทำ Snapshot เพื่อย้อนระบบเดิมให้กลับคืนมา
4. การติดตั้งและจัดการระบบเครือข่ายเสมือนใน ESX
  • พื้นฐานการทำงานของระบบเครือข่ายเสมือน
  • สร้าง VM โดยเปิดจากไฟล์ OVA
  • การเพิ่มการ์ด LAN จริงเข้ามาใช้งานใน Switch เสมือน
  • กำหนดค่าการทำงานของ Switch เสมือน
  • การเพิ่ม Switch เสมือน (vSwitch)
  • การสร้าง Port group
5. การสร้างเครือข่ายภายในเสมือนและระบบ Firewall ใน ESX
  • กำหนดค่าเพื่อเตรียมสร้างระบบ Firewall ใน ESX
  • การสร้าง Firewall และกำหนดค่าการทำงานพื้นฐานของ Firewall ด้วย Mikrotik
  • สร้างกฏและทดสอบการทำงานที่มีผลกับเครื่อง VM
6. การจัดการ Storage และการเก็บข้อมูล
  • Local Storage
  • Shared Storage
  • การเพิ่ม Datastore
  • การลบ Datastore
  • การขยายขนาดของ Datastore
  • การขยายขนาดของฮาร์ดดิสก์เสมือน
  • ประเภทของการ์ด Virtual SCSI ที่ใช้กับเครื่อง VM
  • การส่งผ่านข้อมูลร่วมกันของการ์ด Virtual SCSI
  • คำสั่งสำคัญที่ใช้กำหนดค่าการทำงานของฮาร์ดดิสก์เสมือน
7. การใช้ Share Storage แบบ iSCSI เพื่อกู้คืน Server อย่างรวดเร็วหาก ESX มีปัญหา
  • การสร้าง iSCSI บน Windows Server 2012
  • กำหนดค่าให้ ESX เครื่องที่ 1 เชื่อมต่อกับไดรฟ์ iSCSI
  • สร้างเครื่อง VM_WS2012 ที่เครื่อง ESX1 โดยเก็บข้อมูลใน iSCSI
  • กำหนดค่าให้ ESX เครื่องที่ 2 เชื่อมต่อกับไดรฟ์ iSCSI และกู้คืน VM_WS2012 กลับคืนมา

หมายเหตุ : ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์กเบื้องต้นก่อนเข้าอบรม

14) หลักสูตร VMware Level 2

รายละเอียดหลักสูตรอบรม
บทที่ 1 รู้จักและติดตั้ง VMware vCenter Server
  • vCenter Server ทาหน้าที่อะไร?
  • ความสามารถของ VMware vSphere & vCenter Server
  • ความสามารถที่สาคัญของ vSphere และ vCenter
 บทที่ 2 การติดตั้งและกาหนดค่าเริ่มต้นของ vCenter
  • ความแตกต่างระหว่างการติดตั้งแบบ Server Appliance และ For Windows
  • ขั้นตอนการติดตั้ง vCenter Server แบบ Server Appliance
  • การเข้าใช้งาน vCenter Server
  • การเข้าใช้งาน Appliance Management
 บทที่ 3 การเพิ่มเครื่อง ESX เข้าสู่ vCenter
  • การสร้าง Datacenter
  • การเพิ่มเครื่อง ESX
 บทที่ 4 การโคลนเครื่อง Virtual Machine ใน vCenter
  • การโคลนเครื่อง VM ข้ามเครื่อง ESX
  • การตั้งเวลาการโคลนเครื่อง VM 
บทที่ 5 การสร้าง Storage แบบ iSCSI เพื่อนาไปใช้ใน vCenter
  • การสร้าง iSCSI บน Windows Server 2012
  • การเพิ่มฮาร์ดดิสก์แบบ iSCSI ให้กับ ESX ใน vCenter
  • การสร้าง Datastore จากฮาร์ดดิสก์ของ iSCSI
 บทที่ 6 การย้าย VM ข้ามเครื่อง ESX ด้วย vMotion และ Storage Motion
  • การย้าย Storage ของเครื่อง VM จาก Local ไปเก็บไว้ที่ Shared Storage
  • การสร้าง vSwitch และ Port Group สาหรับ vMotion เพื่อการย้ายเครื่อง VM
  • การย้ายเครื่อง VM ด้วย vMotion
  • การใช้ vMotion ย้ายเครื่อง VM และ Storage ไปพร้อมกัน
 บทที่ 7 กาหนดค่า High Availability (HA) Clusters ร่วมกับ vMotion
  • การสร้าง Cluster
  • ย้าย ESX เข้าไปใน Cluster
  • ทดสอบการทางานของ HA

15) หลักสูตร Wireshark Level 1

หลักสูตร WSH-L1 (Wireshark Level 1) อบรม 2 วัน ราคา 5,500 บาท 
(ตรวจสอบระบบ วิเคราะห์แพ็กเก็ต และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายให้ตรงจุดด้วย Wireshark)
หลักสูตรเริ่มต้นสำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องการใช้งาน Wireshark เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น หาสาเหตุความล่าช้าของระบบ การเชื่อมต่อเครือข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ระบบเครือข่ายถูกโจมตี หรือต้องการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบ เป็นต้น
  • โดยหลักสูตรนี้จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานการทำงานของ OSI Model ที่จำเป็นต่อการใช้งานร่วมกับ Wireshark ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจข้อความที่ Wireshark รายงานออกมา เช่น ทำความเข้าใจ Protocols และ Addressing ในแต่ละ Layer, TCP 3 Way Handshake หรือ TCP 4 Way Disconnect เป็นต้น
  • การติดตั้ง การปรับแต่ง และการกำหนดค่าการทำงานพื้นฐานของ Wireshark ที่จะช่วยให้การทำงานของโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น กำหนดค่าเริ่มต้นของการ Capture Filter, การกำหนดค่า Interface ที่ใช้งาน, การปรับแต่งการแสดงผล, การ Save, การ Export การดักจับแพ็กเก็ต, การสร้าง Profiles, การปรับแต่งรายงาน และการสั่งพิมพ์
  • การดักจับแพ็กเก็ตในระบบเครือข่าย เพื่อนำมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาของระบบที่เกิดขึ้น ผู้เรียนจะได้ทำ LAB จากหลายๆ สถานะการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ทราบว่าแต่ละแพ็กเก็ตที่จับมาได้ หมายความว่าอย่างไร และจะแก้ปัญหายังไง ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเครือข่าย แอปพลิเคชั่นที่ใช้ อุปกรณ์ที่ทำงานผิดพลาด ช่องโหว่ของระบบ รวมถึงผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงได้อย่างถูกต้อง เช่น การทำ ARP Analysis, ICMP Analysis, DNS Analysis, HTTP Analysis, TCP and UDP Analysis เป็นต้น
 จบหลักสูตรแล้วได้อะไร?
  • สามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายขนาดเล็กและกลาง ในระดับพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธภาพ
  • สามารถนำไปประกอบอาชีพด้าน ผู้ดูแลระบบเครือข่ายในระดับ Engineer หรือผู้วิเคราะห์และตรวจสอบการทำงานของระบบเครือข่าย เป็นต้น

16) หลักสูตร Wireshark Level 2

 หลักสูตรสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานการใช้งาน Wireshark มาบ้างแล้ว โดยหลักสูตรนี้จะเน้นไปที่การวิเคราะห์แพ็กเก็ตและโปรโตคอลสำคัญในระดับที่ลึกมากขึ้น เพื่อนำไปตรวจสอบช่องโหว่ ข้อบกพร่อง หรือแก้ปัญหาระบบเครือข่ายในสถานการณ์จริงที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี
  • การตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของโปรโตคอลสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่ายในปัจจุบัน เพื่อนำไปปรับปรุงหรือวางแผนแก้ปัญญาได้อย่างเหมาะสม เช่น การตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของ Ethernet, VLAN, ARP, ICMP, DNS, DHCP, TCP Connection หรือ IP Packet เป็นต้น
  • การดักจับและวิเคราะห์แพ็กเก็ตที่ใช้โปรโตคอลที่มีการเข้ารหัส เช่น SSH, HTTPS หรือ TLS Traffic
  • การใช้ Wireshark ตรวจสอบและแก้ปัญหาการทำงานของ ACLs (Access Control List) ของแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น DNS, TFTP หรือ TCP เป็นต้น
  • ตรวจสอบและวิเคราะห์การโจมตีแบบ Denial of Service, การปลอมแปลงหรือหลอกล่อในระบบ LAN ด้วย ARP Poisoning, การติดเชื้อ Malware, การถูก Brute Force Attacks หรือการบุกรุกเข้ามาในระบบของ Hacker เป็นต้น โดยจะมีการใช้งาน Wireshark ร่วมกับ Tools อื่นๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบและทำ LAB จำลองการโจมตีต่างๆ เช่น Kali Linux, Metasploit, Burp Suite, Snort หรือ Security Onion เป็นต้น
 จบหลักสูตรแล้วได้อะไร?
  • สามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ และแก้ปัญหาของระบบเครือข่ายขนาดกลางและใหญ่ ในขั้นสูงหรือที่มีความซับซ้อนมากๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธภาพ
  • สามารถนำไปประกอบอาชีพด้าน ผู้ดูแลระบบเครือข่ายในระดับ Engineer, Manager นักออกแบบระบบเครือข่าย หรือผู้วิเคราะห์และตรวจสอบการทำงานของระบบเครือข่าย เป็นต้น
  • สามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ ช่องโหว่และการโจมตีต่างๆ จากไฟล์ Malware หรือ Hacker ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • สามารถพยากรณ์เหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการถูกโจมตีจากไวรัส ประเภทต่างๆ หรือ Hacker ได้อย่างถูกต้อง เพื่อเตรียมนำไปหาทางแก้ปัญหาหรือป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถนำไปประกอบอาชีพด้าน ผู้ดูแลระบบด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่าย, นักทดสอบการป้องกันการโจมตีจาก Hacker (Penetration Testing), ผู้ประเมินความเสี่ยงจากช่องโหว่ของระบบ (Vulnerability Assessment), หรือผู้วิเคราะห์และตรวจสอบการทำงานของระบบเครือข่าย เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เปิดรับสมัครผู้เข้าอบรมด้านระบบเครือข่ายปี 2562